เทคโนโลยีการศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ถ้านวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่อไม้ เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเหมือนกอไผ่ ซึ่งรวมทั้งลำไผ่เดี่ยวๆ และกอไผ่ การเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการเปิดสอนใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ชื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างอย่างไร เนื้อหาของวิชาการเทคโนโลยีการศึกษาก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน ปัจจุบันได้มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา 22 สถาบันดังต่อไปนี้
1.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
8.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
9.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
10.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
11.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลันเรศวร
12.คณะครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
13.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
14.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
15.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
16.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
17.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
18.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงค์ชวลิตกุล
19.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น
20.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
21.สำนักวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
22.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
[แก้] กฎหมายการศึกษาคำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" แม้มีใช้มานานในแวดวงวิชาการศึกษา แต่คำนี้ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อ พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 9 โดยมี 7 มาตรา คือ มาตรา 63 - 69 มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาการนำคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน [2] ซึ่งแม้ว่าใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึง เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีเพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น พรบ.การศึกษาเขียนเพื่อเป็นหลักประกันหรือบังคับให้รัฐนำสื่อสารมวลชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
[แก้] การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา? (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547 - 2549)
แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[3]
การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
การวิจัยและพัฒนาสื่อ
[แก้] วิชาชีพการเรียนการสอนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ผู้ที่จบทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษา แล้วทำงานในวิชาชีพนี้เรียกว่า นักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเท่าที่พบในประเทศไทยนั้น มีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีตำแหน่ง "นักเทคโนโลยีการศึกษา" ปรากฏอยู่ ส่วนตำแหน่งดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ได้แก่นักวิชาการโสตทัศนศึกษา พนักงานงานโสตทัศนศึกษา และ ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา [4] ที่ทำหน้าที่เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา
อ่านเพิ่มเติม
1.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
8.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
9.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
10.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
11.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลันเรศวร
12.คณะครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
13.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
14.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
15.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
16.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
17.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
18.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงค์ชวลิตกุล
19.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น
20.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
21.สำนักวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
22.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
[แก้] กฎหมายการศึกษาคำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" แม้มีใช้มานานในแวดวงวิชาการศึกษา แต่คำนี้ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อ พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 9 โดยมี 7 มาตรา คือ มาตรา 63 - 69 มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาการนำคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน [2] ซึ่งแม้ว่าใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึง เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีเพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น พรบ.การศึกษาเขียนเพื่อเป็นหลักประกันหรือบังคับให้รัฐนำสื่อสารมวลชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
[แก้] การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา? (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547 - 2549)
แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[3]
การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
การวิจัยและพัฒนาสื่อ
[แก้] วิชาชีพการเรียนการสอนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ผู้ที่จบทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษา แล้วทำงานในวิชาชีพนี้เรียกว่า นักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเท่าที่พบในประเทศไทยนั้น มีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีตำแหน่ง "นักเทคโนโลยีการศึกษา" ปรากฏอยู่ ส่วนตำแหน่งดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ได้แก่นักวิชาการโสตทัศนศึกษา พนักงานงานโสตทัศนศึกษา และ ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา [4] ที่ทำหน้าที่เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา
อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น